Piyarat Piyapongwiwat
Zomia-ness
2023, Photo
Certain regions in mainland Thailand and Burma were previously recognized as part of Zomia, as per the concept and definition put forth by James C. Scott.
Today, the notion of Zomia may appear paradoxical, given the widespread power of states and their governance over all areas. In the current era, it’s rarely possible to exist without a state, regardless of people’s perceptions of the state or whether there are still those who seek refuge from it.
Reports indicate that Thailand and Burma are home to approximately 600,000 stateless individuals who require recognition from governments. In Thailand, over 200,000 of these individuals are children, and only about 80,000 stateless children attend school. Although the Thai government allows stateless children to study, many obstacles remain.
From my research, I’ve discovered that specific individuals, volunteer groups, and organizations have been collaborating to establish alternative platforms such as free schools, educational centers, and alternative schools. These initiatives provide basic educational assistance to stateless children without government support.
In a world where technology is advancing rapidly, and some suggest that we are headed towards a future where everything is online, in my opinion, despite the positive aspects of technology, many people are left behind and unable to access it. The Zomia in the Cloud project allowed me to experiment with tools and processes for data extraction and visualization. I gathered information about free schools, alternative schools, and educational centers that are cooperated on by specific volunteer groups and organizations, providing basic educational support to stateless children in Thailand. This information was accessible through search engines like Google and Bing. I extracted and repeated the data and conducted experiments to transform it into visuals, enabling me to interpret and represent the Zomia-ness on my terms.
ปิยะรัศมิ์ ปิยะพงศ์วิวัฒน์
โซเมีย-เนส
2023, ภาพถ่าย
บางภูมิภาคในแผ่นดินใหญ่ของประเทศไทยและพม่าเคยได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของโซเมีย ตามแนวคิดและคำจำกัดความของเจมส์ ซี. สก็อตต์
ปัจจุบัน แนวคิดเรื่องโซเมียอาจดูเหมือนขัดแย้งกันเมื่อพิจารณาจากอำนาจที่แพร่หลายและการปกครองของรัฐในทุกด้าน ในยุคปัจจุบัน การดำรงอยู่ได้โดยปราศจากรัฐนั้นแทบไม่มีความเป็นไปได้เลย ไม่ว่าผู้คนจะรับรู้ถึงรัฐอย่างไร หรือไม่ว่าจะยังมีผู้ที่แสวงหาการหลบภัยจากรัฐอยู่
รายงานมีการระบุไว้ว่าประเทศไทยและพม่านั้นเป็นบ้านของบุคคลไร้สัญชาติผู้ซึ่งต้องได้รับการยอมรับจากทางรัฐบาลประมาณ 600,000 คน ในประเทศไทยมีบุคคลเหล่านี้มากกว่า 200,000 คนที่เป็นเด็ก และมีเด็กที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติเพียงประมาณ 80,000 คนเท่านั้นที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแม้ว่าทางรัฐบาลไทยจะอนุญาตให้เด็กไร้สัญชาติได้เรียนหนังสือ แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคมากมาย
จากงานวิจัยของฉันพบว่าบุคคลเฉพาะ กลุ่มอาสาสมัคร และองค์กรต่าง ๆ ได้ร่วมมือกันสร้างแพลตฟอร์มทางเลือกขึ้นมา เช่น โรงเรียนที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ศูนย์การศึกษา รวมทั้งโรงเรียนทางเลือก โครงการริเริ่มเหล่านี้ได้ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กที่ไร้สัญชาติโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
ในโลกที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีบางคนเสนอแนะว่าเรากำลังมุ่งหน้าไปสู่อนาคตที่ทุกอย่างนั้นล้วนเป็นออนไลน์ แต่ในความคิดของฉัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีด้านบวก แต่ก็มีผู้คนอีกจำนวนมากที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังและไม่สามารถที่จะเข้าถึงมันได้ โครงการ โซเมีย อิน เดอะคลาวด์ ช่วยให้ฉันได้ทดลองใช้เครื่องมือและทดลองกระบวนการในการดึงข้อมูลรวมถึงการแสดงภาพ อีกทั้งฉันได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โรงเรียนทางเลือก และศูนย์การศึกษาที่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มอาสาสมัครโดยเฉพาะและองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้การสนับสนุนในด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กที่ไร้สัญชาติในประเทศไทยไว้ และข้อมูลนี้สามารถที่จะเข้าถึงมันได้ผ่านเครื่องมือค้นหา เช่น กูเกิล (Google) และ บิง (Bing) ฉันดึงและทำซ้ำข้อมูลแล้วทำการทดสอบเพื่อแปลงข้อมูลให้กลายเป็นภาพ มันทำให้ฉันสามารถที่จะแปลความหมายและแสดงความเป็น โซเมีย-เนส ในแง่ของฉันได้